Micropython-S10 : ความหมายแห่งตัวแปร คือ ร้อยเปลี่ยนพันแปร ไร้สิ้นสุด
1. ความหมายของตัวแปร
💡 ตัวแปรคืออะไร?
ตัวแปร (Variable) คือชื่อที่เราตั้งขึ้นมา เพื่อใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เราอยากใช้งานในโปรแกรม เช่น ตัวเลข, ข้อความ, รายการ, หรือข้อมูลชนิดอื่น ๆ โดยตัวแปรจะช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลไปใช้งานซ้ำ หรือประมวลผลต่อได้ง่าย
เปรียบเทียบง่าย ๆ ว่าตัวแปรในภาษาไพทอนเป็นเหมือน กล่อง ที่ใช้ใส่สิ่งของหรือคือข้อมูล กล่องนั้นมีชื่อติดอยู่ สิ่งของหรือข้อมูลเมื่ออยู่ในกล่องสามารถหยิบออกมาใช้ได้ สามารถเปลี่ยนแปลงเอาสิ่งของอื่นหรือข้อมูลอื่นใส่ไปแทนของเดิมได้
กล่องเมื่อถูกกำหนดขึ้นใส่สิ่งของหรือข้อมูลลงไป ก็ไม่ได้กำหนดว่าชนิดของสิ่งของหรือประเภทของข้อมูลนั้นเป็นอะไร เดิมตอนสร้างกล่องขึ้นมามีสิ่งของหรือของมูลประเภทหนึ่ง ก็ไม่ใช่ว่ากล่องนั้นต้องใช้เก็บสิ่งของหรือข้อมูลประเภทเดิมไปตลอดการมีตัวตนอยู่ของกล่องนั้น
ยิ่งกว่านั้น เมื่อในสถานที่หนึ่งมีกล่องอยู่มากมายหลายกล่องมีได้หลายรูปแบบ หลายขนาด หรือหลายประเภท การจะเลือกหยิบใช้กล่องใดก็เพียงแต่ตอนสร้างกล่องนั้นขึ้นมาก็ติดป้ายชื่อไว้กับตัวกล่องด้วย เพื่อจะได้เลือกใช้กล่องไม่ผิดพลาด
การติดป้ายชื่อ และการบรรจุสิ่งของหรือข้อมูลไว้ภายใน เกิดขึ้นพร้อมกัน เพียงถูกคั่นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ซ้ายมือของเครื่องหมายเป็นชื่อ และขวามือของเครื่องหมายเป็นสิ่งที่ต้องการเก็บไว้ในกล่อง ในตัวแปร ที่มีชื่อปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายมือของเครื่องหมายเท่ากับ เช่นนั้นแล้วถือว่าเป็นการประกาศการดำรงอยู่ของตัวแปรที่ครบถ้วน พร้อมที่จะถูกนำไปใช้งานได้ทันที
2. การกำหนดค่าให้กับตัวแปร
🔢 ขั้นที่ 1: การประกาศตัวแปร (Variable Declaration)
ประกาศตัวแปร (Variable Declaration) หมายถึงการที่เรา สร้างตัวแปรขึ้นมา และ กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรนั้น เพื่อใช้เก็บข้อมูลบางอย่างไว้ในโปรแกรม
ในภาษา Python การประกาศตัวแปรทำได้ง่ายมาก โดยใช้เครื่องหมาย =
(เครื่องหมายเท่ากับ) ซึ่งมีความหมายว่า “นำค่าทางด้านขวามือไปเก็บไว้ในตัวแปรทางด้านซ้ายมือ“
name = "Alice"
age = 25
score = 90.5
name
คือชื่อตัวแปร ที่เราใช้เรียกกล่องใบหนึ่ง "Alice"
คือค่าที่เราเก็บไว้ในกล่องนั้น เครื่องหมาย =
ใช้ในการ “ประกาศและให้ค่า” ตัวแปร
📦 เปรียบเทียบเหมือนเราติดป้ายชื่อกล่องว่า name
แล้วใส่ของลงไปในกล่องคือ "Alice"
หรือเขียนว่า age = 25
ก็เหมือนติดชื่อว่า age
แล้วใส่เลข 25 ลงไป
Python ไม่ต้องบอกว่ากล่องนี้เก็บ “ข้อความ” หรือ “ตัวเลข” ล่วงหน้า ระบบจะเข้าใจเองจากค่าที่เราใส่ลงไป

📤 ขั้นที่ 2: การนำค่าจากตัวแปรมาใช้ (Using Variables)
คือการใช้ค่าที่ถูกเก็บไว้ในตัวแปรภายในโปรแกรม เพื่อดำเนินการต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ หรือการส่งค่าไปยังฟังก์ชัน โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าซ้ำในแต่ละครั้ง
เมื่อมีการประกาศและกำหนดค่าตัวแปรแล้ว ตัวแปรนั้นจะทำหน้าที่เสมือน “กล่อง” ที่เก็บข้อมูลชนิดต่างๆ ไว้ เช่น ตัวเลข ข้อความ หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานซ้ำได้ในภายหลัง
ข้อสังเกตสำคัญคือ หากตัวแปรปรากฏอยู่ในด้านขวามือของสมการ หรืออยู่ภายในคำสั่งหรือฟังก์ชันใดๆ นั่นหมายถึงการนำ “ค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร” มาใช้งาน ไม่ใช่การกำหนดค่าใหม่ให้ตัวแปร
# ประกาศตัวแปร
score = 90.5 # ตัวแปร score คือกล่องที่เก็บค่า 90.5
# การนำค่าจากตัวแปรมาใช้ในการคำนวณ
new_score = score + 10 # ดึงค่าจากกล่อง score มาเพิ่มอีก 10 แล้วเก็บไว้ในกล่อง new_score
# การเอาตัวแปรสองตัวมาเท่ากัน
copy_score = score # นำค่าที่อยู่ในกล่อง score ไปใส่ในกล่องใหม่ชื่อ copy_score
# แสดงเพื่อเปรียบเทียบค่าในตัวแปร
print("score:", score)
print("copy_score:", copy_score)
# แสดงผลลัพธ์ของการคำนวณ
# ตัวแปรที่อยู่ในคำสั่ง print() หมายถึงการนำค่าภายในกล่องมาใช้ ไม่ได้หมายถึงการเปลี่ยนค่า
print("คะแนนเดิม:", score)
print("คะแนนใหม่:", new_score)
ตัวอย่างนี้เมื่อเราประกาศตัวแปร score
และกำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 90.5
เปรียบเสมือนการสร้าง “กล่อง” ใบหนึ่งที่เก็บค่าตัวเลขนี้ไว้ เราสามารถนำค่าที่อยู่ในกล่องนี้ไปใช้ในการคำนวณได้ทันที โดยไม่ต้องระบุค่าตัวเลขซ้ำ
เช่น ถ้าเราต้องการเพิ่มคะแนนอีก 10 คะแนน เราสามารถเขียนเป็น score + 10
ซึ่งหมายถึงการนำ “ค่าภายในกล่อง score
” มาบวกกับ 10
ผลลัพธ์ของการบวกนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ในตัวแปรใหม่ชื่อว่า new_score
ซึ่งก็เปรียบได้กับกล่องอีกใบที่เก็บผลลัพธ์จากการคำนวณ
ในกระบวนการนี้ ตัวแปร score
ยังคงเก็บค่าเดิมไว้คือ 90.5
ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วน new_score
จะมีค่าเป็น 100.5
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนถัดไปได้อย่างอิสระ
นอกจากนี้ เรายังสามารถสร้างตัวแปรใหม่ที่คัดลอกค่าเดิมจาก score
ได้ เช่น copy_score = score
ซึ่งหมายถึงการนำค่าภายในกล่อง score
ไปวางไว้ในกล่องใหม่ชื่อ copy_score
โดยไม่มีผลกระทบกับค่าดั้งเดิมของ score
✅ สรุปแนวคิดที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างนี้:
- ตัวแปรในภาษา Python เปรียบได้กับ “กล่องที่เก็บข้อมูล”
- การใช้ตัวแปรในสมการหรือคำสั่ง คือการ นำค่าจากกล่องมาใช้งาน
- การสร้างตัวแปรใหม่จากตัวแปรเดิม คือการ คัดลอกค่า ไม่ใช่การเชื่อมโยงกล่องเดียวกัน
- ค่าของตัวแปรเดิมจะไม่ถูกเปลี่ยน เว้นแต่จะมีคำสั่งใหม่มาทับค่าเดิมโดยตรง
ค่าของตัวแปรหรือค่าในกล่องสามารถนำไปทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น:
- การคำนวณ: เราสามารถใช้ค่าของตัวแปรในการคำนวณต่างๆ เช่น การบวก, ลบ, คูณ, หาร เพื่อหาผลลัพธ์ใหม่ เช่น ถ้าเรามีคะแนน
score
เราสามารถบวกคะแนนเพิ่มอีก 10 ได้ - การเปรียบเทียบ: ใช้ค่าของตัวแปรเพื่อตัดสินใจ เช่น ถ้าคะแนน
score
มากกว่าหรือเท่ากับ 60 ก็แสดงว่าเราผ่าน - การแสดงผล: เราสามารถนำค่าของตัวแปรไปแสดงผลบนหน้าจอให้เห็น หรือเอาค่ามาทำอะไรอื่นๆ ได้ เช่น แสดงคะแนนที่ได้ให้เพื่อนดู
- การเก็บข้อมูลหลายๆ อย่าง: ตัวแปรสามารถใช้เก็บข้อมูลหลายๆ ค่า หลายๆ รูปแบบที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น เก็บชื่อ อายุ และคะแนนของนักเรียนในรูปแบบที่เป็นระเบียบ
- การส่งค่าผ่านการทำงานต่างๆ: ตัวแปรสามารถส่งค่าไปให้โปรแกรมหรือฟังก์ชันทำงานตามที่เราต้องการ เช่น ส่งค่าคะแนนของเราไปให้โปรแกรมคำนวณระดับความสามารถหรืออันดับของเรา เพื่อให้รู้ว่าคะแนนนี้เท่ากับระดับไหนเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ
ค่าของตัวแปรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้โปรแกรมทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

🔄 ขั้นที่ 3: แสดงค่าตัวแปร ด้วยคำสั่ง print
🖨️ คำสั่ง print
คืออะไร?
คำสั่ง print()
ใช้เพื่อ แสดงข้อความหรือข้อมูลออกทางหน้าจอ เช่น แสดงคำทักทาย, ค่าของตัวแปร, หรือผลลัพธ์จากการคำนวณ
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
📦 รูปแบบพื้นฐาน แสดงสิ่งที่ต้องการ:
# print(สิ่งที่ต้องการให้แสดง)
print("Hello, world!")
📌 คำอธิบาย:
- คำว่า
print
แปลตรงตัวคือ “พิมพ์” หรือ “แสดงผล” - วงเล็บ
( )
ใช้สำหรับบอกว่าเราจะให้แสดงอะไร - ข้อความ
"Hello, world!"
ถูกใส่ในเครื่องหมายคำพูด (quotes) เพื่อให้ Python รู้ว่าเป็นข้อความ - จะมีผลลัพธ์เป็นการแสดงคำว่า:
Hello, world!
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
📦 ใช้ร่วมกับตัวแปร
ถ้าเรามี ตัวแปร ที่เก็บข้อมูลไว้ เราสามารถใช้ print
เพื่อ แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปรนั้น ออกมาดูได้
🧾 ตัวอย่าง:
name = "Alice" # ประกาศตัวแปร name แล้วใส่ข้อความ "Alice"
print(name) # แสดงค่าที่เก็บอยู่ในตัวแปร name
print(f'name is {name}')
📍 ผลลัพธ์ที่ได้:
Alice
📌 คำอธิบาย : ตัวแปร name
ถูกกำหนดให้เก็บข้อความ "Alice"
คำสั่ง print(name)
จะดึงข้อมูลจากตัวแปรมาแสดง
🧠 เปรียบเทียบ: print(name)
ก็เหมือนกับการเปิดกล่อง name
แล้วพูดว่า “ในกล่องนี้มีอะไรนะ?” — คำตอบคือ "Alice"
ระบบก็เลยแสดงว่า Alice
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
📦 แสดงข้อความร่วมกับตัวแปร
score = 95
print("Your score is", score)
📌 คำอธิบาย:
- ข้อความ
"Your score is"
จะถูกแสดงตามด้วยค่าของตัวแปรscore
- Python จะเว้นวรรคโดยอัตโนมัติระหว่างข้อความกับค่าตัวแปร◦◦
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
📦 แสดงข้อความร่วมกับตัวแปรแบบหลายข้อความหลายตัวแปร
name = "Bob"
age = 30
print("Name:", name, "| Age:", age)
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
🪄 การใช้ f-string เพื่อพิมพ์ข้อความและตัวแปรอย่างสวยงาม
f-string
หรือ formatted string คือวิธีที่ง่ายและเป็นธรรมชาติในการนำ ค่าจากตัวแปร มาใส่ลงใน ข้อความ ที่เราต้องการพิมพ์ออกทางหน้าจอ โดยไม่ต้องใช้เครื่องหมายบวก (+
) ต่อข้อความแบบเดิมให้ยุ่งยาก
✅ หลักการใช้งาน:
- ขึ้นต้นข้อความด้วยตัวอักษร
f
(มาจากคำว่า format) - ใช้
{}
วงเล็บปีกกาเพื่อแทรก ชื่อตัวแปร ลงในข้อความ - เมื่อ Python อ่านคำสั่งนี้ มันจะเอาค่าของตัวแปรมาแทนที่ตำแหน่งใน
{}
โดยอัตโนมัติ
name = "Alice"
score = 95
print(f"{name} ได้คะแนนสอบ {score} คะแนน")
📎 ผลลัพธ์:
Alice ได้คะแนนสอบ 95 คะแนน
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
🧠 ทำไม f-string ถึงน่าใช้?
- ✅ อ่านง่าย: ข้อความดูต่อเนื่องเหมือนประโยคจริง ไม่ขาดตอน
- ✅ เขียนสะดวก: ไม่ต้องปิด–เปิดเครื่องหมายคำพูดหลายครั้ง
- ✅ จัดรูปแบบได้: สามารถกำหนดจำนวนทศนิยม หรือรูปแบบตัวเลขใน
{}
ได้เลย เช่น:
average = 92.456
print(f"ค่าเฉลี่ยคือ {average:.2f}")
# ผลลัพธ์: ค่าเฉลี่ยคือ 92.46
🧠 เปรียบเทียบวิธีใช้ f-string กับ วิธีแยกส่วนข้อความกับตัวแปร
📌แบบแยกส่วนข้อความกับตัวแปร
# แบบนี้ต้องใช้ str(score) เพื่อแปลงตัวเลขเป็นข้อความก่อนใส่ค่าเข้าไปใน print()
print("ชื่อ: " + name + " | คะแนน: " + str(score))
📌แบบ f-string
print(f"ชื่อ: {name} | คะแนน: {score}")
📌 จะเห็นว่า f-string เขียนสั้นกว่า อ่านง่ายกว่า และไม่ต้องแปลงชนิดข้อมูลด้วย str()
เอง
💡 ใช้ f-string กับการคำนวณ
สามารถใส่ นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ลงไปในวงเล็บปีกกา {}
แล้ว Python จะคำนวณและแสดงผลให้ทันที
a = 10
b = 5
print(f"ผลรวมของ {a} และ {b} คือ {a + b}")
# ได้ผลลัพธ์เป็น ผลรวมของ 10 และ 5 คือ 15
price = 49.90
quantity = 3
print(f"รวมราคาทั้งหมด: {price * quantity:.2f} บาท"
# ได้ผลลัพธ์เป็น รวมราคาทั้งหมด: 149.70 บาท
# :.2f คือการจัดให้แสดงเลขทศนิยม 2 ตำแหน่ง
❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅❅
🧠 สรุปการใช้ print
กับตัวแปร:
- ใช้
print
แสดงค่าตัวแปรโดยตรง: ใช้ในการแสดงค่าของตัวแปรแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อความ - ใช้
f-string
เพื่อแทรกตัวแปรลงในข้อความ: เป็นวิธีที่สะดวกและอ่านง่ายในการแทรกตัวแปรลงในข้อความหรือผลลัพธ์จากการคำนวณ - ใช้
print
ร่วมกับตัวแปรหลายตัว: ใช้เมื่อแสดงหลายตัวแปรในครั้งเดียว โดยคอมมาจะช่วยแยกข้อความกับตัวแปร - หลีกเลี่ยงการใช้การต่อ string แบบเก่า: การใช้การต่อ string แบบเก่าอาจทำให้โค้ดยาวและอ่านยาก เนื่องจากต้องแปลงประเภทข้อมูลและเพิ่มความซับซ้อน
- กรณีผสม string กับตัวแปร: ใช้
f-string
หรือprint
พร้อมคอมมาในการแสดงข้อความที่มีทั้ง string และตัวแปร เพื่อความสะดวกในการอ่านและไม่ต้องแปลงประเภทข้อมูล
🔄 ขั้นที่ 4: การเปลี่ยนค่าในตัวแปร (Updating Variable Values)
บางครั้งค่าในตัวแปรหรือ “ของในกล่อง” ที่เราเคยเก็บไว้อาจต้องเปลี่ยนแปลง เช่น ได้คะแนนเพิ่ม หรือต้องการแก้ไขข้อมูลใหม่ ก็สามารถเปลี่ยนค่าของตัวแปรได้ง่าย ๆ ด้วยการ “ใส่ค่าใหม่ลงไปแทนของเดิม” โดยใช้เครื่องหมาย =
เช่นเดิม
score = 0
print("คะแนนเริ่มต้นคือ", score)
score= 10
print("คะแนนเปลี่ยนเป็น", score)
✅ ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ตัวแปรเก็บ “ค่าล่าสุด” เท่านั้น
✅ และสามารถนำค่ามาคำนวณต่อได้
เมื่อตัวแปรเป็นเหมือนกล่อง เมื่อเอาข้อมูลออกจากกล่องมาทำการเปลี่ยนแปลง ก็สามารถเอาข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลงนั้น ใส่กลับ เข้าไปในกล่องเดิมได้ดังนี้
ลองดูตัวอย่างการเพิ่มคะแนนเข้าไปในตัวแปรเดิม:
score = score + 5
print("ตอนนี้คะแนนรวมเป็น", score)
✏️ นั่นคือ เราเอาค่าที่อยู่ในกล่อง score
ออกมา (เช่น 10)
➕ แล้วบวกเพิ่มอีก 5 ได้ผลลัพธ์เป็น 15
📦 จากนั้นก็ใส่ค่าใหม่กลับเข้าไปในกล่องเดิม
เมื่อกระทำกับข้อมูลในกล่องเดิม มีวิธีลัดที่เขียนได้สั้นลงแบบนี้
score += 15
print("เพิ่มคะแนนอีก 15 ตอนนี้รวมเป็น", score)
เครื่องหมาย +=
หมายถึง “เอาค่าเดิมบวกเพิ่มเข้าไป” ซึ่งทำงานเหมือน score = score + 15
แต่เขียนสั้นกว่า
🧠 แบบนี้เราก็สามารถเปลี่ยนค่าของตัวแปรได้อย่างง่ายและรวดเร็ว ทำให้โปรแกรมของเราฉลาดขึ้นและทำงานได้หลากหลายมากขึ้น!
⚠️ ข้อพึงระวัง: การใช้ +=
ต้องมีค่าเริ่มต้นก่อน
ก่อนจะใช้คำสั่งอย่าง score += 15 ต้องแน่ใจว่าตัวแปร score
มีค่าอยู่แล้ว ถ้ายังไม่ได้กำหนดค่ามาก่อน เช่น
# ส่วนของโปรแกรมก่อนหน้า ที่ไม่มีตัวแปร score เหมือนไม่เคยมีกล่องชื่อ score มาก่อน
score += 15
โปรแกรมจะ เกิดข้อผิดพลาด (error) เพราะ Python ไม่รู้ว่าค่าปัจจุบันของ score
คืออะไร
🧠 ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
ลองนึกว่า score
คือ กล่อง
- ถ้ายังไม่เคยวางของอะไรไว้ในกล่องนั้นเลย (ยังไม่ได้ให้ค่า)
- แล้วจู่ ๆ จะไป “หยิบของในกล่องมาบวกเพิ่ม” — ก็จะทำไม่ได้ เพราะ ไม่มีของให้หยิบ!
✅ วิธีที่ปลอดภัย
score = 0 # สร้างกล่องและใส่ค่าเริ่มต้น
score += 15 # ตอนนี้ถึงจะเพิ่มค่าได้อย่างปลอดภัย
เพื่อให้เข้าใจแบบรอบทิศทาง เมื่อเข้าใจว่าตัวแปรคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง ก็ต้องลองมองแบบสวนทางคือ ถ้าไม่มีตัวแประจะเกิดอะไรขึ้น
🔁 ถ้าไม่มีตัวแปร จะเกิดอะไรขึ้น?
- ต้องเขียนข้อมูลเดิมซ้ำไปซ้ำมา
- แก้ไขข้อมูลได้ยากมาก เพราะทุกจุดต้องแก้ด้วยมือ
- โปรแกรมซับซ้อนและอ่านยาก
- ไม่สามารถเก็บผลลัพธ์หรือส่งต่อข้อมูลได้
✅ ตัวแปรช่วยให้…
- เก็บค่าชั่วคราวไว้ใช้งานซ้ำได้
- เปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย เพียงเปลี่ยนค่าที่ตัวแปรเดียว
- ทำให้โปรแกรมยืดหยุ่น เช่น ใช้คะแนนจากหลายรอบมารวมกันได้
- อ่านและเข้าใจง่ายขึ้น เหมือนตั้งชื่อให้ “ข้อมูลสำคัญ”
🧠 เปรียบเทียบ: ตัวแปร = กล่องเก็บข้อมูล
ถ้าไม่มีกล่อง ก็ต้องถือของทั้งหมดไว้ในมือ ทำให้หล่นง่าย และจัดการยากมาก

🎯 ข้อควรจำเกี่ยวกับตัวแปร
- 🏷️ ตัวแปรคือชื่อที่ใช้เรียกกล่องเก็บข้อมูล
- ใช้เก็บข้อความ ตัวเลข หรือข้อมูลอื่น ๆ ไว้ชั่วคราว
- ➕ สามารถนำค่าที่เก็บไว้ไปใช้งานได้หลายแบบ
- เช่น ใช้คำนวณ เปรียบเทียบ แสดงผล หรือส่งต่อให้คำสั่งอื่น
- 🔁 เปลี่ยนค่าของตัวแปรได้ตลอดเวลา
- ใส่ค่าใหม่ลงไปในกล่องเดิมได้โดยใช้เครื่องหมาย
=
- ⚠️ ต้องกำหนดค่าก่อนใช้งาน
- ถ้าเรียกใช้ตัวแปรที่ยังไม่ได้กำหนดค่า จะเกิดข้อผิดพลาด (Error)
- 🧠 ชื่อตัวแปรควรตั้งให้เข้าใจง่าย
- เพื่อให้รู้ว่าเก็บอะไร เช่น
score
,name
,age
- 🧺 ช่วยให้โปรแกรมจัดการข้อมูลได้เป็นระบบ
- ไม่ต้องจำข้อมูลเองตลอดเวลา แค่ใช้ชื่อตัวแปรเรียกมาใช้ก็พอ
🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜🟥🟧🟨🟩🟪🟫⬛⬜
📄 ใบงานกิจกรรม: รู้จักกับตัวแปร
🟥 วัตถุประสงค์
- เข้าใจความหมายของตัวแปร
- เขียนโปรแกรมเพื่อเก็บและแสดงค่าจากตัวแปร
- ทดลองเปลี่ยนค่าในตัวแปรและสังเกตผล
🟩ทดลองเขียนโปรแกรม
🔧 แบบฝึกหัดที่ 1: เติมช่องว่างให้โปรแกรมสมบูรณ์
____ = "น้องปอนด์"
____ = 12
print("ชื่อของคุณคือ", ____)
print("คุณอายุ", ____, "ปี")
คำถาม:
- ตัวแปรในโปรแกรมนี้คืออะไร?
- ถ้าเปลี่ยนชื่อเป็น “น้องเมย์” ต้องแก้ตรงไหน?
- ถ้าต้องการเปลี่ยนอายุ ต้องแก้ตรงไหน?
🔧 แบบฝึกหัดที่ 2: การเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปร
score = 0
print("คะแนนเริ่มต้น:", score)
score = ____ # ให้เปลี่ยนเป็น 10
print("คะแนนตอนนี้:", score)
score = score + ____ # ให้เพิ่มอีก 5
print("คะแนนรวม:", คะแนน)
คำถาม:
- score เปลี่ยนไปกี่ครั้ง?
- score สุดท้ายคือเท่าไหร่?
✍️ ส่วนที่ 3: เขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง
🔧 โจทย์ที่ 1 : แนะนำตัวเอง
ให้เขียนโปรแกรมแนะนำตัวเอง โดยใช้ตัวแปรอย่างน้อย 3 ตัว เช่น ชื่อ อายุ และวิชาที่ชอบ แล้วใช้ print()
แสดงข้อมูลออกมา
# เขียนที่นี่
____________________
____________________
____________________
print("สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ", ____________)
print("ฉันอายุ", ____________, "ปี")
print("ฉันชอบวิชา", ____________)
🔧 โจทย์ที่ 2: โปรแกรมคะแนนเกม
ให้เขียนโปรแกรมที่เริ่มจากคะแนนเริ่มต้น 0 แล้วผู้เล่นได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากการเล่นเกม 3 รอบ โดยใช้ตัวดำเนินการ +=
คะแนน = __________
คะแนน += __________
คะแนน += __________
คะแนน += __________
🔧 โจทย์ที่ 3: เขียนโปรแกรมโดยใช้ f-string เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นข้อความนี้
Name: Bob | Age: 30
🔧 โจทย์ที่ 4: เขียนโปรแกรมคะแนนโดยใช้ f-string เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็น
สวัสดีค่ะ ฉันชื่อ Lina
ฉันอายุ 21 ปี
วิชาที่ฉันชอบที่สุดคือ คณิตศาสตร์
งานอดิเรกของฉันคือ อ่านหนังสือ
เป้าหมายในอนาคตของฉันคือ อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
🔧 โจทย์ที่ 5: เขียนโปรแกรมแนะนำตัวโดยใช้ f-string เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็น
Name: Bob | Age: 30
คะแนนรวมจาก 3 รอบคือ 45 คะแนน
รายละเอียดแต่ละรอบ: รอบที่ 1 = 10, รอบที่ 2 = 20, รอบที่ 3 = 15
🔧 โจทย์ที่ 6: เขียนโปรแกรมคะแนนเกมโดยใช้ f-string เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็น
Name: Bob | Age: 30
คะแนนรวมจาก 3 รอบคือ 45 คะแนน
รายละเอียดแต่ละรอบ: รอบที่ 1 = 10, รอบที่ 2 = 20, รอบที่ 3 = 15
❤️🔥❤️🩹❤️🩷🧡💛💚💙🩵💜🤎🖤🩶🤍💟❣️❤️🔥❤️🩹❤️🩷🧡💛💚💙🩵💜🤎🖤🩶🤍💟❣️❤️🔥❤️🩹❤️🩷🧡💛💚💙🩵💜🤎🖤🩶🤍💟❣️
✅ สรุปสิ่งพึงเข้าใจ
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับตัวแปรมีดังนี้:
- การประกาศตัวแปร: ตัวแปรคือชื่อที่ใช้เก็บข้อมูลภายในโปรแกรม โดยที่ไม่จำเป็นต้องกำหนดชนิดข้อมูลล่วงหน้าในบางภาษา เช่น Python ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น การประกาศตัวแปรจะเป็นการสร้างชื่อเพื่ออ้างอิงถึงข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ
- การใช้ตัวแปร: ตัวแปรช่วยให้สามารถใช้งานข้อมูลที่เก็บไว้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปคำนวณ หรือการใช้ในกระบวนการต่างๆ ภายในโปรแกรม ข้อมูลที่เก็บในตัวแปรจะถูกนำไปใช้ตามที่ต้องการ
- การแสดงค่าตัวแปร: การแสดงค่าของตัวแปรในโปรแกรมเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจสอบผลลัพธ์หรือการพัฒนาโปรแกรม การแสดงค่าช่วยให้เห็นว่าตัวแปรเก็บข้อมูลอะไรและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในระหว่างการทำงาน
- การเปลี่ยนค่าตัวแปร: ตัวแปรสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามต้องการระหว่างการทำงานของโปรแกรม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่านี้จะมีผลต่อการใช้งานตัวแปรในส่วนต่างๆ ของโปรแกรม
👋🖖🫱🫴🫸👌🤏✌️🤞🫰🤟🤙👉☝️🫵👍👊🤛👏🙌🫶👐🤝🙏
“ ที่แน่แท้คือแปรผัน เวลาพลันพ้นผ่านไปไม่หวลคืน ”
“ Tempus fugit; mutatio manet ”
- tempus fugit — “เวลาโผบิน”
- mutatio manet — “การเปลี่ยนแปลงยังคงอยู่”
“The only truth is change, they say,
As time once passed won’t drift our way.”
Naturvirtus
VII·Maius·MMXXV